top of page

บทที่ 1

การออกแบบเว็บไซต์

สาระสำคัญ

  ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งในอินเทอร์เน็ตและประกอบด้วยเว็บไซต์ต่าง ๆ มากมาย การที่เราจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองบ้างก็ไม่ใช่เรื่องอยากเพียงแต่ต้องทำการเรียนรู้ถึงหลักการออกแบบเว็บไซต์ การสร้างเว็บไซต์และเว็บเพจซึ้งเราจะมาศึกษากันในบทนี้

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกความหมายของอินเทอร์เน็ตและส่วนประกอบที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต

2. อธิบาย

1.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่าย (Network) ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลากหลายเครือข่ายทั่วโลกเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีแหล่งข้อมูลในทุกๆด้านให้ผู้ที่สนใจเข้าไปค้นคว้าหามาใช้ได้อย่างสะดวก,รวดเร็ว และง่ายดาย

1.1.1 หลักการทำงานของอินเทอร์เน็ต

การทำงานของอินเทอร์เน็ตนั้นจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันดังนี้

1.1.1.1 TCP/ IP: ภาษาสื่อสาร

การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นต้องมี ภาษาสื่อสาร (ที่เรียกว่า โพรโตคอ (Protocol)) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อนให้สื่อสารเข้าใจกันได้ ภาษาสื่อสารในคอมพิวเตอร์มีอยู่มากมายแตกต่างกันตามระบบที่ใช้ ซึ้งเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในระบบจะต้องใช้ภาษาสื่อสารเดียวกันจึงจะติดต่อสื่อสารกันได้

  ในระบบอินเทอร์เน็ตจะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐาน TCP/ IP อ่านว่า ทีซีพีไอพี ซึ้งย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol/internet protocol เป็นภาษาหลัก ดังนั้น หากเครื่อง

คอมพิวเตอร์ใดไม่ว่าจะเป็นเครื่อง PC MAC หรือเครื่องระดับมินิ  จนไปถึงเมนเฟรม หากมี TCP/ IP นี้อยู่ก็จะสามารถเชี่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้

  ตัวอย่างของโพรโตคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตได้แก่

HTTP                ที่ใช้ในการส่งหน้าเว็บเพจ

FTP                   ที่ใช้ในการส่งไฟล์                     เป็นต้น

1.1.1.2 IP Address :  หมายเลขประจำเครื่อง

    เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต จะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องไม่ซ้ำกันเลย เรียกว่า IP Address หรือ Internet Address เพื่อใช้เป็นตัวชี้เฉพาะให้กับระบบเมื่อมีการติดต่อสื่อสาร ภาษา TCP/ IP จะใช้หมายเลข  IP Address ของเคคื่องต้นทางและปลายทางนี้ในการกำกับข้อมูลที่ถูกส่งผ่านเข้าไปในระบบเพื่อให้สามารถส่งไปยังที่หมายได้อย่างถูกต้องดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบแต่ละเครื่องเป็นบ้านแต่ละหลัง IP Address ก็คือบ้านเลขที่ของบ้านแต่ละหลังนั้นเอง

IP Address จะประกอบด้วยข้อมูลจำนวน 32 บิด โดยแยกออกเป็น 4 ส่วน ๆ ละ 8 บิด โดยแต่ละส่วนจะคั่นกันด้วยเครื่องหมายจุด เช่น  207.68.156.54 เป็นต้น

1.1.1.3 Domain Name : ตั้งชื่อแทนหมายเลข

          เมื่อระบบอินเทอร์เน็ตมีเครื่องต่างๆ เข้าร่วมในระบบมากขึ้น การใช้ IP Address ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละขององค์กรเริ่มกระทำได้ยากขึ้น เนื่องจาก IP Address เป็นตัวเลขที่ยากแก่การจดจำ ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตจึงอนุญาตให้เครื่องแต่ละเครื่องในระบบสามารถตั้งชื่อขึ้นมาแทนได้ เพื่อให้ผู้ที่ต้องกาติดต่อด้วยเรียกใช้ได้สะดวกขึ้น ชื่อเหล่านี้เหล่านี้เรียกว่า ชื่อโดเมน (Domain Name)

     ชื่อเมนะต้องเขียนอยู่ในรูปแบบของระบบชื่อโดเมน (Domain Name System หรือ DNS )

โดยชื่อโดเมนจะแบ่งออกเป็นระดับชั้น โดยอาจจะเป็น 2 ระดับ หรือ 3 ระดับก็ได้ โดยแต่ละระดับจะคั่นกันด้วยเครื่องหมายจุดเช่นเดียวกับ IP Address

ชื่อองค์กร

สามารถใช้ตัว a ถึง z หรือตัวเลข0 ถึง 9 และเครื่องหมาย( hypen ) มาประกอบกันเป็นชื่อ เช่น SOFTPRESS 

    ส่วนขยายบอกประเภทขององค์กรเจ้าของเครื่อง ซึ้งอาจเป็น

Com หรือ  co     องค์กรเอกชน

Edu  หรือ  ac       สถาบันการศึกษา

Gov หรือ  go       องค์กรของรัฐ

Mil หรือ  mi      องค์กรทางทหาร

Met                    องค์กรให้บริการเครือข่าย     

Org หรือ  or      องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

1.1.2  การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต

       บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกส่า โดเมน ซึ้งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนักเรามักเรียกการเชื่อต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ dial-up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า ไอเอสพี ซึ้ง ISP นี้เป็นองค์กรๆ หนึ่ง ที่ได้ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องให้บริการ SERVER ที่ต่อตรงเข้ากับอินเทอร์เน็ตที่อนุญาตให้ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกองค์กรนำระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้ ISP จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ซึ้งหลักจากที่เราเชื่องต่ออินเทอร์เน็ตได้แล้วเราก็จะสามารถไปยังที่ใดๆ ก็ได้ในระบบ

1.1.3   เวิลด์ไวด์เว็บ ( World wide wed ) 

 

เวิลด์ไวด์เว็บ ( World wide wed หรือ WWW หรือ W3)  

เป็นบริการข้อมูลข่าวสารในแบบสื่อผสมหรือมัลติมีเดีย กล่าวคือ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ภาพ และเสียงประกอบกัน แทนที่จะมีเพียงตัวอักษรละลานตาเพียงอย่างเดียว จึงสามารถเรียกความสนใจจากผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัจจุบัน ทำให้ข้อมูลประเภทนี้สามารถแสดงภาพเคลื่นไหวในแบบของภาพยนตร์และแสดงเสียงได้คุณภาพสูงเลยทีเดียว

ข้อมูลนี้จะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าจะถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML ซึ้งสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกัน ดังนั้นข้อมูลจากทุกมุมโลกจึงถูกโยงใยไปมาถึงกันได้ราวกับใยแมงมุม จึงเรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ หรือ เครื่อข่ายใยแมงมุม

1.1.4  มีอะไรในเวลด์ไวด์เว็บ

เว็บไซต์(web site)

เป็นที่ที่ใช้ในการจัดเก็บเว็บเพจแต่ละองค์กรที่จะนำเสนอข้อมูลของตนในรูปของเว็บนี้มักจะมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง และมักใช้ชื่อองค์กรเป็นชื่อเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ที่ใช้สนใจสามารถจดจำได้ง่าย

เว็บเพจ( web page)

เอกสารข้อมูลในแต่ละหน้าซึ้งถูกเขียนด้วยภาษา HTML ข้อมูลที่แสดงในเว็บแต่ละหน้าประกอบด้วยข้อความ ภาพ และเสียง จึงเป็นข้อมูลแบบสื่อผสมหรือมัลติมีเดย

 

โฮมเพจ (Home Page)

เว็บเพจหน้าแรกสุดของข้อมูลแต่ละเรื่องซึ้งก็เปรียบเสมือนหน้าปกของหนังสือนั่นเองส่วนของโฮมเพจนี้จะเป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเรื่องใด หร้อมกับมีเมนูในการเลือกไปยังหัวข้อต่างๆ ในเรื่องนั้นๆ ด้วย

เว็บเบราว์เซอร์(Web Browser)
เว็บเพจแต่ละหน้าเป็นเอกสารข้อมูลที่ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML ดังนั้น การที่เครื่องของเราจะอ่านและแสดงผลเว็บเพจเหล่านี้เหล่า เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์(Web Browser)  ซึ้งมีมากมายในปัจจุบัน แต่ที่รู้จักกันดีจะได้แก่ lnternet Explorer ของบริษัทไมโครซอฟท์ Googlo Chome ของ google

1.1.5  กระบวนการทำงานชองเว็บไซต์

กระบวนการทำงานของเว็บไซต์จะมีลักษณะการทำงานแบบ Client/Serverโดยมีโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ทางด้านของเรา ทำหน้าที่ร้องขอบริการและมีเว็บเซิร์ฟเวอร์ ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ด้วยการติดต่อผ่านโพรโทคอล HTTP

1.1.6  การไปยังเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต

 ตำแหน่งของเว็บ(URL)

ในการเรียกใช้เว็บเพจใดที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตนั้น เราจะต้องทราบเสียงก่อนว่าเว็บเพจเหล่านนั้นถูกเก็บอยู่ในเว็บไซต์ใด โดยตำแหน่งที่อยู่ในณุปแบบมาตาฐาน URL 

 

Protocol:  กำหนดโพรโทคอลที่เบราว์เซอร์นั้นใช้ปกติจะเป็น HTTP หรือ HTTPS 

Domain:  กำหนดชื่อเว็บไซต์ หรือ ชื่อเครื่องขององค์กรนั้น เช่น www.softpressbook.com

Path:       กำหนดเส้นทางการเข้าถึงไฟล์ในเว็บไซต์นั้น เช่น การเรียกใช้ไฟล์ในโฟลเดอร์

Filename:   กำหนดชื่อไฟลใน path ที่เราต้องเรียกใช้ เช่น http://www.domain.com/mainfolder/subfolder/file.html

 

การไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการ

การไปยังเว็บไซต์หรือเว็บดพจใดๆ จะกระทำได้โดยเปิดใช้เว็บเบราว์เซอร์ แล้วกระทำดังนี้

-  จากAddress Bar

พิมพ์ตำแหน่งที่อยู่ของเว็บที่ต้องการ แล้วกด Enter

 

หรือ

-  จากเมนู File เลือกคำสั่ง Open พิมพ์ตำแหน่งที่อยู่ของเว็บที่ต้องการแล้วกดปุ่ม OK หรือกด Enter

1.2 ประเภทของเว็บไซต์

เว็บไซต์จะแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามการใช้งานดังนี้

1.  เว็บท่า (Portal site)

เว็บท่านั้นอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่าเว็บวาไรตี้ ซึ้งหมายถึงเว็บที่รวมบริการต่างๆ ไว้มากมาย มักประกอบไปด้วยบริการเครื่องมือค้นหาที่รวบรวมลิงค์ของเว็บไซต์ที่น่าสนใจรวมถึงบริการที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่มีสารระและบันเทิงหลากหลายประเภท เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ดูดวง ท่องเที่ยว IT เกม สุขภาพหรืออื่นๆ นอกจากนั้นแล้วเว็บท่ายังมีลักษณะเป็นแหล่งแลกเปรี่ยนความคิดเห็นของผู้คนในสังคมในเรื่องเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ซึ้งเรียกว่า เว็บชุมชน อีกด้วย

2.  เว็บข่าว

เว็บข่าวมักเป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นโดยองค์กรข่าวหรือสถาบันสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ที่มีสื่อประเภทต่าง ๆ ของตนเองอยู่เป็นหลัก เช่น สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หรือแม้กระทั่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ แต่ละองค์กรเหล่านี้ได้นำเว็บไซต์มาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อนำเสนอข่าวสารและสารระที่เป็นการสรุปใจความสำคัญหรือรวบรวมเนื้อหาจากข่าวในรอบเดือนหรือรอบปี ซึ้งช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลและติดตามข่าวสารได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

3.  เว็บข้อมูล

เว็บข้อมูลนั้นเป็นเว็บที่ให้บริการเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูล ข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้คนที่สนใจได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวกับองค์กรของตนได้อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการปรพชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจอันดีให้แก่ผู้คนในสังคมอีกด้วย

4.  เว็บธุรกิจหรือการตลาด

เว็บธุรกิจหรือการตลาด เป็นเว็บไซต์ที่มักสร้างขึ้นโดยองค์กรธุรกิจต่าง ๆ มีจุดมุ่งหมายหลักในการประชาสัมพันธ์องค์กรและเพิ่มผลกำไรทางการค้า โดยเนื้อหารส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมักจะเป็นการนำเสนอที่มีตวามน่าสนใจและตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อผลกำไรทางธุรกิจนั่นเอง

5.   เว็บการศึกษา

เว็บการศึกษามักเป็นเว็บที่สร้างขึ้นโดยสถาบันศึกษาต่างๆ หรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีนโยบายในการเผยแพร่ความรู้และให้โอกาสในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนการศึกษาแก่ มักเรียน นิสิต นักศีกษา รวมไปถึงประชาชนทั่วไป เว็บการศึกษาจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการนอกจากนี้แล้วยังรวมถึงเว็บที่สอนหรือให้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น การทำเว็บ การทำอาหาร การถ่ายภาพ การเขียนโปรแกรม เป็นต้น

6.   เว็บบันเทิง

เว็บบันเทิงนั้นมุ่งเสนอและให้บริการต่างๆ เพื่อนเสริมสร้างความบันเทิง โดยทั่วไปอาจนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการบันเทิงทั่วไป เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ ดารา กีฬา ความรัก บทกลอน การ์ตูน เรื่องขำขัน รวมถึงการให้บริการให้บริการดาวน์โหลดโลโก้และรินโทนสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่อีกด้วยเว็บประเภทนี้อาจมีรูปแบบที่เป็นอินเตอร์แอคทีฟที่ตื่นเต้นตื่นใจ หรือใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียได้มากกว่าเว็บประเภทอื่น

7.   เว็บองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร

เว็บประเภทนี้มักจะเป็นเว็บที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มบุคคลหรือองค์กรต่างๆ ที่มีนโยบายในการสร้างสรรค์ที่ช่วยเหลือสังคมโยที่ไม่หวังผลกำไรหรือค่าตอบแทนที่มีนโยบายในการสร้างสรรค์ที่ช่วยเหลือสังคมโดยที่ไม่หวังผล

กำไรหรือค่าตอบแทน ซึ้งกลุ่มบุคคลหรือองค์กรเหล่านี้ได้แก่

สมาคม ชมรม มูลนิธิ และโครงการต่างๆ

โดยอาจมีจุดประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อทำความดี

สร้างสรรค์สังคม พิทักษ์สิ่งแวดล้อม ปกป้องสิทธิมนุษยชน

รณรงค์ไม่ให้สูบบุหรี่หรืออาจรวมตัวกันเพื่อดูแลผลประโยชน์ข

องสมาชิกในกลุ่ม

8. เว็บส่วนตัว

เว็บส่วนตัวตัวอาจเป็นเว็บคนๆ เดียว เพื่อนฝูง

หรือครอบครัวก็ได้ โดยอาจจัดทำขึ้นด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน

เช่น แนะนำกลุ่มเพื่อน โชว์รูปภาพ แสดงความคิดเห็น

เขียนไดอารี่ประจำวัน นำเสนอผลงาน

ถ่ายทอดประสบการที่เกี่ยวกับสิ่งที่เชี่ยวชาญหรือสนใจ เป็นต้น

1.3 หลักในการออกแบบเว็บไซต์

การออกแบบเว็บไซต์เป็นการกำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์

เนื้อหารสาระ การใช้ภาพและองค์ประกอบต่าง ๆ

และการเชื่อมโยงเนื้อหา

การออกแบบเว็บไซต์ควรคำนึงถึงการใช้งานเป็นหลัก

เพื่ออนำมากำหนดองค์ประกอบภายในเว็บ

การออกแบบเว็บไซต์ที่ดีควรมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ตรงกั

บที่ผู้ใช้ต้องการใช้เวลาในการดาวน์โหลดน้อย

 

แสดงผลเร็ว มีการใช้งานที่สะดวกและ เข้าใจง่าย

และมีการพัฒนาเนื้อหาอยู่เสมอ

1.3.1 ขั้นตอนในการออกแบบเว็บไซต์

ในการออกเว็บไซต์จะมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์

การสร้างเว็บไซต์นั้นควรเริ่มจากการสร้างแผนผังของเว็บไซต์ก่

อน หรือที่เรียกว่า Site Map

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างเว็บเพจ

เราต้องกำหนดการเชื่อมโยงให้เว็บเพจแต่ละหน้าเชื่อมโยงถึงกั

นเพื่อให้กลับไปหกลับมาระหว่างหน้าต่างๆ

ได้โดยแสดงชื่อไฟล์ HTML

แต่ละไฟล์ที่มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน

ชั้นตอนที่ 3 การออกแบบเว็บเพจแต่ละหน้า

เราสามารถออกแบบหน้าเว็บเพจแต่ละหน้าให้สวยงาม

โดยเฉพาะในเพจหน้าแรก ซึ้งเรียกว่า โฮมเพจ

ควรออกแบบให้สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม

ในขั้นตอนการออกแบบนี้บางที่อาจเรียกว่า

การวางเค้าโครง

ขั้นตอนที่4 การสร้างเว็บเพจแต่ละหน้า

นำเว็บเพจที่ออกแบบไว้มาสร้างโดยภาษา HTML

หรืออาจใช้โปรแกรมสำเร็จรูปตามความถนัด

ขั้นตอนที่5 การลงทะเบียนขอพื้นที่เว็บไซต์

 

เป็นการเผยแพร่เว็บไซต์ที่สร้างเสร็จแล้วเข้าสู่ระบบเครือข่ายอิน

เทอร์เน็ต เพื่อให้บุคคลอื่นๆ

สามารถเข้าชมเว็บไซต์ของเราได้

วิธีการก็คือนำเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นไปไว้บนพื้นที่ที่ให้บริการ

รับฝากเว็บไซต์

ซึ้งมีทั้งแบบให้บริการฟรีและแบบที่ต้องเสียค่าบริการ

ขั้นตอนที่ 6 การอัปโหลดเว็บไซต์

หลังจากสร้างเว็บไซต์และลงทะเบียนขอพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์ ให้ใช้โปรแกรมสำหรับอัปโหลด เช่น โปรแกรม CuteFTP เพื่อทำการโอนย้ายไฟล์เว็บไซต์ของเราไปไว้ยัง Web Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้เพื่อให้คนทั่วโลกสามารถเข้าช

1.3.2 รูปแบบโครงสร้างของเว็บไซต์

การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ สามารถทำได้หลากหลายขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลความถนัดของผู้ออกแบบ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องหารนำเสนอ โครงสร้างของเว็บไซต์ประกอบไปด้วย 4 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

1.โครงสร้างของเว็บไซต์แบบเรียงตามลำดับ

เป็นโครงสร้างแบบธรรมดาที่ใช้กันมากที่สุดเนื่องจากง่ายต่อดารจัดเจ็บข้อมูลที่่นิยมจัดด้วยโครงสร้างแบบนี้มักเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นเรื่องราวตามลำดับ เช่น การเรียงลำดับจัดด้วยโครงสร้างแบบนี้มักเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นเรื่องราวตามลำดับ เช่น การเรียงลำดับตามอักษร ดัชนี สารานุกรม หรืออภิธานศัพท์ ดรงสร้างแบบนี้ เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็กเนื้อหาไม่ซับซ้อน ใช้การเชื่อมโยง ไปที่ลพหน้า ทิศทางของการเข้าสู่เนื้อหาภายในเว็บจะเป็นการดำเนินเรื่องในลักษณะเส้นตรง โดยมักจะมีปุ่มเดินหน้า-ถอยหลังเป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดทิศทาง ข้อเสียของโครงสร้างระบบนี้คือ ผู้ใช้ไม่สามารถกำหนดทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาของตนเองได้ทำให้เสียเวลาในการเข้าสู่เนื้อหา

2.โครงสร้างเว็บไซต์แบบลำดับขั้น

 เป็นโครงสร้างที่ดีที่สุดรูปแบบหนึ่งในการจัดระบบโครงสร้างซับซ้อนของข้อมูลโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นสาวนต่าง และมีรายละเอียดย่อย ๆ ในแต่ส่วนลดหลั่นกันมาในลักษณะแนวคิดเดียวกับแผนภูมิองค์กร จึงเป็นการง่ายต่อการทำงานความเข้าใจกับโครงสร้างของเนื้อหา

  

ลักษณะเด่นก็คือการมีจุดเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นที่จุดเดียว นั่นคือโฮมเพจ และเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาในลักษณะเป็นลำดับจากบนลงล่าง 

3.โครงสร้างของเว็บไซต์แบบตาราง

โครงสร้างรูปแบบนี้มีความซับซ้อนมากกว่ารูปแบบที่ผ่านมา การออกแบบเพิ่มความรยืดหยุ่นให้แก่การเข้าสู่เนื้อหาของผู้ใช้ โดยเพิ่มการเชื่อมโยงถึงกันและระหว่างกันเนื้อหาเเต่ละส่วนเหมาะแก่การแสดงให้เห็นความสัมพันกันของเนื้อหา การเข้าสู่เนื้อหาของผู้ใช้ไม่เป็นลักษณะเชิงเส้นตรง  เนื่องจากผู้ใช้สามารถเปลี่ยนทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาของตนเองได้ เช่น ในการศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ โดยในแต่ละสมัยแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยเหมือนกันคือ การปกครอง ศาสนา วัฒนธรรม และภาษา ในขณะที่ผู้ใช้กำลังศึกษาหัวข้อข้อมูลต่อไปก็ได้ หรือตรงข้ามไปดูหัวการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนก็ได้เพื่อเปรียบเทียบลักษณะข้อมูลที่เกิดขึ้นคนละสมัย

4.โครงสร้างเว็บไซต์แบบใยแมงมุม

โครงสร้างประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นมากที่สุด ทุกหน้าในเว็บสามารถจะเชื่อมโยงไปถึงกันได้หมด เป็นการสร้างรูปแบบเนื้อหาที่เป็นอิสระผู้ใช้สามารถกำหนดวิธีการเข้าสู่เนื้อหาเองได้ด้วยตนเองอาศัยการโยงข้อความที่มีแนวคิดเหมือนกันของแต่ละหน้าในลักษณะของไฮเปอร์มีเดีย โครงสร้างลักษณะนี้จัดเป็นรูปแบบที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนตายตัว นอกจากนี้การเชื่อมโยงไม่ได้จำจัดเฉพาะเนื้อหาภายในเว็บนั้น ๆ สามารถเชื่อมโยงออกไปสู่เนื้อหาในเว็บภายนอกได้ด้วย

1.4  หลักในการสร้างเว็บเพจ

1.4.1 ขั้นตอนในการสร้างเว็บเพจ

1. การวางแผน

- กำหนดเนื้อหา

  ก่อนลงมือทำการสร้างเว็บเราต้องรู้ว่าเราทำเว็บเกี่ยวกับอะไร เนื้อหาเป็นอย่างไรกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มใด ทั้งนี้เพื่อที่เราจะได้นำเนื้อหาเหล่านั้นมาใส่ในเว็บเพื่อแสดงให้รู้ว่าเนื้อหาโดยรวมเกี่ยวกับอะไร เช่น ถ้าเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็ต้องมีข้อมูลของคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดลักษณะ ราคาแต่ละรุ่น และสถานที่ขาย เป็นต้น

  • ออกแบบการจัดเค้าโครงของหน้าเว็บ

คือการจัดวางองค์ประกอบในเว็บแต่ละส่วนใดควรจะมีอะไร อาจทำโยการร่างใส่กระดาษไว้ก่อนหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบก็ได้ การใช้ตารางช่วยในการจัดองค์ประกอบในหน้าเว็บนั้นจะทำให้เว็บเพจมีความเป็นระเบียบยิ่งขึ้นและสะดวกต่อการแก้ไขปรับปรุง

2 .การเตรียมการ

เป็นการเตรียมการด้านข้อมูลทั้งที่เป็นเนื้อหา ภาพ เสียง หรือสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ที่คิดว่าต้องการจะนำเสนอในการทำเว็บเพจนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่าเราจะทำเว็บเกี่ยวกับอะไร การรวบรวมข้อมูลก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง เช่น ถ้าจะทำเว็บเกี่ยวกับโรงเรียน ก็ต้องไปหาคติพจน์ประจำโรงเรียน สีประจำโรงเรียน บุคลากรในโรงเรียน ประวัติโรงเรียน ฯลฯ มารวบรวมไว้ แล้วหลังจากนั้นก็เอาข้อมูลนั้นมาจัดรูปแบบในเว็บต่อไป การหาเครื่องมือในการจัดทำนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เครื่องมือในนี้หมายถึงโปรแกรมการทำงานต่าง ๆ เช่นโปรแกรมจัดการรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ โปรแกรมในการจัดทำเว็บเพจซึ้งจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือจะเขียนเอง 

3. กาจัดทำ

เมื่อวางแผนและเตรียมการเรียบร้อย ก็ถึงเวลาจัดทำ อาจจะทำคนเดียวหรือทำเป็นกลุ่มโดยใช้เครื่องมือที่เตรียมไว้

4. การทดสอบและการแก้ไข

การสร้างเว็บเพจทุกครั้งเพื่อหาข้อบกพร่อง แล้วนำมาแก้ไข การทำเว็บนั้นเมื่อทำเสร็จและอัปโหลดไปไว้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์แล้ว ให้ทดลองแนะนำเพื่อนสนิทและใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ลองเปิดดูแล้วให้บอกข้อผิดพลาดมา เช่น การเชื่อมโยงต่าง ๆ รูปภาพและตัวอักษรว่าถูกหรือเปล่า การทดสอบที่เครื่องของตนเองมักจะไม่ค่อยปรากฏข้อผิดพลาดให้เห็นเรื่องจากว่าข้อมูลต่าง ๆ จะอยู่ในเครื่องของตนเอง รวมทั้งการเชื่อมโยงต่าง ๆ ก็เช่นกัน โปรแกรมจะทำการค้นหาในเครื่องจนพบ ทำให้เราไม่เห็นข้อผิดพลาด หลังจากทดสอบแล้วให้ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ๆ 

5. การนำเว็บเพจต่าง ๆ มารวบรวมเป็นเว็บไซต์

เมื่อสร้างเว็บเพจเสร็จแล้วนำมาจัดรวบรวมและเรียบเรียงหน้าเว็บเพจแต่ละหน้า แล้วทำการทดสอบและแก้ไข เมื่อแก้ปรับปรุงเสร็จแล้วก้สามารถเผยแพร่เว็บเพจทั้งหมดสาธารณะ ในรูปแบบของเว็บไซต์

1.4.2 วิธีการสร้างเว็บเพจ

ดังที่ได้ทราบกันแล้วว่า เว็บเพจ เป็นเอกสารซึ่งถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML ดังนั้นการที่เราจะมีเว็บเพจเป็นของตัวเองจึงไม่ใช่เรื่องยาก จากนี้ไปเราจะเริ่มศึกษาและสร้างเว็บเพจกัน

   การสร้างเว็บเพจ จะกระทำได้ 3 ทางด้วยกัน คือ

1.สร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

2.สร้างด้วยโปรแกรมระบบ CMS 

3.สร้างขึ้นเอง

1.4.2.1 การสร้างเว็บเพจด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

เป็นการใช้โปรแกรมต่าง ๆ ที่มีความสามารถในการสร้างเว็บเพจ เช่น Microsoft frontpage adobe dreamweaver.หรือโปรแกรม Microsoft office Microsoft word เป็นต้น การสร้างเว็บเพจด้วยวิธีนี้เราไม่จำเป็นต้องเรียนรู้คำสั่งของภาษาhtml แต่อย่างใดโดยโปรแกรมเหล่านี้จะทำการแปลงให้เราเองโดยอัตโนมัติ

1.4.2.2 การสร้างเว็บเพจด้วยโปรแกรมระบบ CMS 

Cms เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูปโดยใน การใช้งาน cms นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรมก็สามารถสร้างโปรแกรมแถมมาและสามารถแทรงเองได้มากมาย เช่น webboard ระบบจัดการป้ายโฆษณา ระบบนับจำนวนผู้ชบ แม้กระทั่งตระกร้าสินค้า และอื่น ๆอีกมากมาย

Cms เป็นเหมือนโปรแกรม ๆ หนึ่งที่มีผู้พัฒนามาจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเว็บไซต์ เช่น php python asp jsp ปัจจุบันมีผู้พัฒนา cms ฟรีขึ้นมามากมาย อย่าง wordpress เป็นต้นซึ้งแน่นอนว่าผู้พัฒนาระบบ cms ฟรีที่กล่าวมา ล้วนเป็นมืออาชีพที่มีฝีมือในเรื่องของเว็บไซต์เป็นอย่างดี ทั้งการเขียนโปรแกรมที่รัดกุม การออกแบบเนวิเกชั่นที่ดี ทำให้ภาพรวมของเว็บไซต์ที่ใช้ cms นั้นออกมาในแนวมืออาชีพอย่างมาก

Wordpress

 Wordpress ถือได้ว่าเป็นฟรีสคริปต์ cms ที่มาแรงและได้รับความนิยมในการนำไปใช้สร้างเว็บหรือบล็อกมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากการคิดที่ติดตั้งที่แสนจะง่ายดาย บวกกับความสะดวกในการใช้งาน การปรับแต่งแก้ไข รวมไปถึงสคริปต์ ปลั๊กอินเยี่ยมๆ เทมเพลตสวยๆ น่าใช้ที่ถูกออกแบบสร้างไว้โดยนักพัฒนาหรือโปรแกรมเกมเมอร์ให้ดาวน์โหลดไปใช้งานกันได้ฟรี ๆ 

Joomla

Joomla เป็นอีกหนึ่งฟรีสคริปต์ CMS ที่ได้รับความนิยมอีกตัวหนึ่งซึ้งสามารถนำcms ฟรีตัวนี้ไปปรับแต่งสร้างเป็นเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้าน องค์กร หรือทางด้านธุรกิจได้อย่างลงตัวทีเดียวเองก็มีปลั๊กอินฟรีเอาไว้ในสามารถดาวน์โหลดไปปรับแต่งและใช้งานได้อย่างหลากหลายเช่นกัน

Drupal

Drupal เป็นอีกหนึ่งฟรีสคริปต์ ที่มีผู้ใช้มากพอสมควร ซึ้งมีธีมและโมดูลให้ดาวน์โหลดไปใช้มากมาย แต่ติดปัญหาเนื่องจากว่าการติดตั้งและใช้งานจะยุ่งยากกว่า wordpress มาก ในบ้านเราจึงไม่ค่อยเห็นเว็บบล็อกที่เราสร้างด้วย drupal มากนัก

ข้อดีของ cms

  1. ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำเว็บไซต์ เพียงแค่เล่นอินเทอร์เน็ตเป็นบ้างก็สามารถมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้

  2.  ไม่เสียเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ ไม่เสียเงินจำนวนมาก

  3. ง่ายต่อการดูแล เพราะมีระบบจัดการทุกอย่างให้เราหมด

  4. มีระบบจัดการที่เราสามารถหามาใส่เพิ่มได้มากมาย

  5. สามารถเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ได้ง่าย เพียงแค่โหลดธีมของ cms นั้นๆ

ข้อเสียของ cms

1.ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการออกแบบธีม(หน้าตาของเว็บ)เอง จะต้องใช้ความรู้มากว่าปกติเนื่องจากมีหลายๆ ระบบมารวมกันทำให้เกิดความยุ่งยากสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้

2. ผู้ใช้จะต้องศึกษาระบบ ที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้นมา เช่น จะต้องใส่ข้อความลงตรงไหนจะต้องแทรกภาพอย่างไร

3.ในการใช้งานจริงนั้นจะมีความยุ่งยากในการติดตั้งครั้งแรกกับเว็บเบราว์เซอร์แต่ปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการเว็บมากมายที่เสนอลงและติดตั้งระบบให้ฟรี ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

1.4.2.3 การสร้างเว็บเพจขึ้นเอง

- ภาษา HTML 

HTML เป็นภาษาพื้นฐานของการพัฒนาเว็บไซต์โดยเฉพาะ เป็นภาษาที่เว็บเบราว์เซอร์สามารถเข้าใจได้ที่สุด และแสดงผลได้เร็วที่สุดด้วยเช่นกัน

- ภาษา xml

Xml เป็นภาษาหรือชดคำสั่งเกี่ยวกับข้อมูลบนเว็บที่ให้การพัฒนาและศักยภาพในส่วนของโครงสร้างข้อมูลทำให้การจัดการข้อมูลหรือเรียกใช้ข้อมูลจากแอพพลิเคชันต่าง ๆ จะเป็นมาตรฐานเดียวกัน

        -  ภาษา jsp

Jsp เป็นเทคโนโลยีการเขียนสคริปต์บนเว็บที่ใช้ภาษา java เป็นหลักสามารถทำงานได้           โดยไม่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะ

     -  ภาษา php

     Php เป็นภาษาที่มีโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษาซี.จาวา.และเพิร์ลซึ้งภาษา php นั้นเป็นภาษาที่ใช้สำหรับการเขียนและแสดงผลออกมาในรูปแบบของเว็ยไซต์ด้วยภาษา htmlโดยเป็นส่วนที่ใช้ในการคำนวณ ประมวลผล เก็บค่า และทำตามคำสั่งต่างๆ เช่น รับค่าจากแบบฟอร์มหรือบอย์ดแล้วนำไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลเพื่อนำมาแสดงผลต่อไป

 

1.4.3 ส่วนประกอบที่จำเป็นในหน้าเว็บเพจ

1.ส่วนหัวของหน้า

เป็นส่วนที่อยู่ตอนบนสุดของหน้า และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของหน้า เพราะเป็นส่วนที่ดึงดูดผู้ชมให้ติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ มักใส่ภาพกราฟิกเพื่อสร้างภาพกราฟิกเพื่อสร้างความประทับใจ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย

- โลโก้เป็นสิ่งที่เว็บไซต์ควรมีเป็นตัวแทนของเว็บไซต์ได้อย่างเป็นอย่างดี และยังทำให้เว็บน่าเชื่อถือ

- ชื่อเว็บไซต์

- เมนูหลักหรือจุดเชื่อมโยง เป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาของเว็บไซต์

2.ส่วนของเนื้อหา

เป็นส่วนที่อยู่ตอนกลางของหน้า ใช้แสดงข้อมูลเนื้อหาของเว็บไซต์ ซึ้งประกอบด้วย ข้อความ ตารางข้อมูล ภาพกราฟิก วิดีโอ และอื่น ๆ และอาจมีเมนูหลักหรือเฉพาะกลุ่มวางอยู่ในส่วนนี้ด้วย

สำหรับส่วนเนื้อหาควรแสดงใจความสำคัญที่เป็นหัวเรื่องไว้บนสุด ข้อมูลมีความกระชับใช้รูปแบบตัวแบบตัวอักษรที่อ่านง่ายและจัด layout ให้เหมาะสมและเป็นระเบียบ

3.ส่วนท้ายของหน้า

เป็นส่วนด้านล้างสุดของหน้า มักวางระบบนำทางที่เป็นจุดเชื่อมโยงด้วยข้อความง่ายๆ และอาจแสดงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ ข้อความแสดงลิขสิทธิ์ วิธีการติดต่อกับผู้ดูแลเว็บไซต์ คะแนะนำการใช้เว็บไซต์ เป็น โดยปกติส่วนหัวและส่วนท้ายมักแสดงเหมือนกันในทุกหน้าของเว็บเพจ

นอกจากนี้ ยังอาจจะเพิ่มเติมส่วนประกอบต่อไปนี้ได้ตามความจำเป็น เช่น 

- วันที่ปรับปรุงแก้ไขล่าสุด

- คำชี้แจงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

- ตัวนับจำนวนผู้เข้าชม

-  คำเตือนให้คั่นหน้าเว็บ

-   แผนผังเว็บไซต์

-     หน้าเว็บช่วยเหลือ

- คำถามที่พบบ่อย

-   กระดานสนทนา

-     ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

1.4.4 การสร้างเว็บไซต์ให้ประสบผลสำเร็จ

เมื่อคิดจะทำเว็บไซต์ขึ้นมาสักเว็บหนึ่งนั้น ถ้าต้องการให้เว็บไซต์นั้นประสบผลสำเร็จ

  1. กำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์ให้ชัดเจน

  2. ให้ความสำคัญในการออกแบบทำเว็บให้ดูเรียบง่าย สวยงาม สบายตา ใช้งานสะดวก มีการจัดหมวดหมู่ที่ดี ใช้สีเหมาะสม

  3. หาจุดเด่นของเว็บไซต์ให้พบ

  4. มีความเป็นหนึ่งเดียว (Unity)เว็บเพจในแต่ละหน้าไปในทิศทางเดียวกันทั้งการออกแบบ สีสัน และ เมนูทางเลือก

  5. มีเนื้อหาที่ดี มีประโยชน์

  6. สร้างเอกลักษณ์

  7. มีระบบนำทางที่ดีหมายถึงเมนูหรือปุ่มนำทางไปสู่เนื้อหาต่าง ๆ สะดวกทั้งการเข้าชมในเนื้อหาที่ลึกเข้าไปและสามรถย้อนกลับมายังหัวข้ออื่น ๆ ได้ง่าย

  8. ตรวจสอบสอบทุกการเชื่อมโยงให้ใช้งานได้จริง

  9. ลดขนาดภาพให้เหมาะสม(Navigtion bar)

10.โหลดไม้ช้า หน้าไม่ยาว(fixed lmage size)

  11. มีระบบถาม-ตอบ(faq)

      12.   ติดต่อได้สะดวกควรมีโลโก้ชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ อีเมลที่ติดต่อได้ และถ้ามีแผนที่สำหรับแสดงที่ตั้งด้วยยิ่งดี

      13.   หมั่นปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่เสมอ (update)

สรุปท้ายบทที่ 1

1.  อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่าย (Network) ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลากหลายเครือข่ายทั่วโลกเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีแหล่งข้อมูลในทุกๆด้านให้ผู้ที่สนใจเข้าไปค้นคว้าหามาใช้ได้อย่างสะดวก,รวดเร็ว และง่ายดาย

 

2. TCP/ IP เป็นภาษาหลักในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบอินเทอร์เน็ต

 

3. IP Address เป็นหมายเลขประจำเครื่องที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ตซึ้งต้องไม่ซ้ำกันเลยเพื่อใช้เป็นตัวชี้เฉพาะให้กับระบบเมื่อมีการติดต่อสื่อสาร ภาษาสื่อสาร TCP/ IP จะใช้หมายเลข IP Address ของเครื่องต้นทางและปลายทางนี้ในการกับกำข้อมูลที่ถูกส่งผ่านเข้าไปในระบบเพื่อให้สามารถส่งไปยังที่หมายได้อย่างถูกต้อง

4.  Domain Name เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นแทนหมายเลข IP Address ในการอ้างถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละองค์กร เนื่องจาก IP Address เป็นตัวเลขที่ยากแก่การจดจำ

 

5. ISP เป็นองค์กรๆ หนึ่งที่ได้ทำกาติดตั้งและดูแลเครื่องให้บริการที่ต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตที่อนุญาตให้ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากนั้นจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตไปยังที่ใดๆ ก็ได้ในระบบ

 

6. ( World wide wed หรือ WWW หรือ W3เป็นบริการข้อมูลข่าวสารในแบบสื่อผสมหรือมัลติมีเดีย กล่าวคือ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ภาพ และเสียงประกอบกัน ข้อมูลนี้จะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าจะถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML ซึ้งสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกัน ดังนั้นข้อมูลจากทุกมุมโลกจึงถูกโยงใยไปมาถึงกันได้ราวกับใยแมงมุม จึงเรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ หรือ เครือข่ายใยแมงมุม

 

7.Web Site เป็นเครื่องที่ใช้ในการจัดการเก็บเว็บเพจ แต่ละองค์กรที่จะนำเสนอข้อมูลของตนในรูปของเว็บนี้มักจะมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง และมักใช้ชื่อองค์กรเป็นชื่อเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถจดจำได้ง่าย

 

8. Web Page เป็นเอกสารข้อมูลในแต่ละหน้าถูกเขียนซึ่งถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML ข้อมูลที่แสดงในเว็บเพจแต่ละหน้านี้อาจจะประกอบด้วยข้อความ.ภาพ.และเสียง จึงเป็นข้อมูลแบบมัลติมีเดีย

 

9. Home Page เป็นหน้าเพจแรกสุดของข้อมูลแต่ละเรื่อง ซึ้งก็เปรียบเสมือนหน้าปกของหนังสือนั้น ส่วนชองโฮมเพจนี้จะเป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเรื่องใดพร้อมกับมีสารบัญหรือมูลในการเลือกไปยังหัวข้อต่าง ๆ ในเรื่องนั้น ๆ ด้วย

 

10.Web Browser เป็นโปรแกรมสำหรับทำหน้าที่ในการไปยังหัวข้อในการแสดงผลเว็บเพจโดยเฉพาะ

11. URL (Uniform Resource Locator) เป็นตำแหน่งที่อยู่ของเว็บ ซึ่งเขียนอยู่ในรูปแบบมาตรฐาน http:/www.domain.com/mainfolder/subfolder/file.html

12. หลักในการออกแบบเว็บไซต์

1. กำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์                            4. สร้างเว็บเพจแต่ละหน้า

2. กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างเว็บเพจ                   5. ลงทะเบียนขอพื้นที่เว็บไซต์

3. ออกแบบเว็บเพจแต่ละหน้า                                 6.อัปโหลดเว็บไซต์

13. รูปแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ ประกอบด้วย 4 รูปแบบใหญ่ๆ ดังนี้

1. โครงสร้างของเว็บไซต์แบบเรียงตามลำดับ

2. โครงสร้างของเว็บไซต์แบบลำดับขั้น

3. โครงสร้างของเว็บไซต์แบบตาราง

4. โครงสร้างของเว็บไซต์แบบใยแมงมุม

 

14. ขั้นตอนในการสร้างเว็บเพจ

1. การวางแผน

2. การเตรียมการ

3. การจัดทำ

4. การทดสอบและการแก้ไข

5. การนำเว็บเพจต่าง ๆ มารวบรวมเป็นเว็บไซต์

 

15. การสร้างเว็บเพจ จะกระทำได้ 3 ทาง ด้วยกัน คือ

1. สร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

2. สร้างด้วยโปรแกรมระบบ CMS

3. สร้างขั้นเอง

bottom of page